วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก

ผู้แต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี (กลิ่น)

(เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์
ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ 
๑๐ เรื่อง
ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก
เรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 
๑๐ บารมี

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ  การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์  ทั้ง ๑๓ กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้
          ๑.  เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว  จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า  พระนามว่า  ศรีอริยเมตไตย  ในอนาคต
          ๒.  เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร
          ๓.  เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก
          ๔.  เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า  ศรีอริยเมตไตย  จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์
          ๕.  ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์  จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคล  ในบวรพุทธศาสนา

มูลเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาชาติ
          คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า  เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูป  และพระประยูรญาติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์  ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์  ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่า
          พระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์  โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระประยูรญาติทั้งหลาย  พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติ

          มหาเวชสันดรชาดก  เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้  มหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี  คือ

ทานบารมี  = ทรงบริจาคทรัพย์สิน  ช้าง  ม้า  ราชรถ  พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
ศีลบารมี  = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
เนกขัมมบารมี  = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
ปัญญาบารมี  = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
วิริยาบารมี  = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
สัจจบารมี  = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก  เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
ขันติบารมี  = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต  และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น  แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
เมตตาบารมี  = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์  มาทูลขอช้างปัจจัยนาค  เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง  ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้  และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร  อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
อุเบกขาบารมี  = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี  วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ  ทรงบำเพ็ญอุเบกขา  คือทรงวางเฉย  เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
อธิษฐานบารมี  = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ  
จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์

เนื้อเรื่อง
          หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ตามลำดับ


(อ่านต่อในโพตส์ต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น